ฟันเหยิน หรือที่เรียกว่า “Overbite” เป็นภาวะที่ฟันหน้าบนยื่นออกมาครอบคลุมฟันหน้าล่าง ซึ่งอาจดูเป็นเพียงปัญหาด้านความสวยงาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ฟันเหยินยังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากและการใช้งานฟัน ไม่ว่าจะเป็นการเคี้ยวอาหาร การออกเสียง หรือความมั่นใจส่วนตัว การเข้าใจสาเหตุของฟันเหยินเกิดจากอะไร นอกจากจะช่วยให้เห็นภาพของปัญหามากขึ้นแล้ว ยังจะทำให้รู้ถึงผลลัพธ์หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีในระยะยาวด้วย
ฟันเหยินคืออะไร ?
ฟันเหยิน (Overbite) คือภาวะที่ฟันหน้าบนยื่นออกมามากเกินกว่าปกติ จนครอบคลุมฟันหน้าล่างในลักษณะที่เห็นได้ชัด หากอาการฟันเหยินไม่รุนแรงนักอาจไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ แต่ถ้าเกิดการยื่นของฟันมากจนเกินไปก็อาจส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหาร การปิดปาก และการพูดได้ โดยเฉพาะเมื่อฟันหน้าล่างหุบเข้าไปในช่องปากมากกว่าปกติ อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพของช่องปากในระยะยาวได้
ฟันเหยินเกิดจากอะไร ?
ฟันเหยินเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งจากพันธุกรรมและพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้าและฟันโดยตรง เช่น
- พันธุกรรม : ลักษณะทางพันธุกรรมที่สืบทอดจากครอบครัว เช่น ขนาดของฟันหรือกระดูกขากรรไกรที่ผิดปกติ
- ความผิดปกติของกระดูกใบหน้าและกะโหลกศีรษะ : กระดูกใบหน้าหรือขากรรไกรที่เจริญเติบโตผิดปกติ ทำให้ฟันหน้าบนยื่นออกมา
- ความผิดปกติของฟัน : ฟันที่มีการเจริญเติบโตผิดตำแหน่ง เช่น ฟันขึ้นเก หรือฟันซ้อนกันทำให้โครงสร้างโดยรวมผิดปกติ
- ความผิดปกติของกล้ามเนื้อใบหน้า : กล้ามเนื้อใบหน้าอาจมีการพัฒนาที่ผิดปกติหรือมีความผิดปกติของการทำงาน ส่งผลให้เกิดแรงกดบนฟันจนยื่นออกมา
- พฤติกรรมที่ทำจนเป็นนิสัย : โดยเฉพาะพฤติกรรมในวัยเด็ก เช่น การดูดนิ้ว หรือนิสัยการกดฟันหน้าบนและฟันล่างเข้าหากันระหว่างนอน ส่งผลให้ฟันหน้ามีลักษณะยื่นออกมา
การสังเกตฟันเหยิน
การสังเกตว่าฟันมีลักษณะเหยินสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- การพูดไม่ชัด และมีเสียงแปลก ๆ เมื่อออกเสียงบางคำ
- การเห็นเหงือกมากเกินไปเมื่อยิ้มหรือพูด
- ฟันหน้าบนยื่นออกมามากกว่าฟันหน้าล่างอย่างชัดเจน
- ฟันหน้าล่างหุบเข้าในช่องปากมากเกินไป
- ฟันหน้าบนมีลักษณะซ้อนเกหรือล้ำกันในบางส่วน
หากมีลักษณะเหล่านี้ ควรไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อทำการประเมินเพิ่มเติม และขอคำแนะนำในการรักษาที่เหมาะสม

ฟันเหยินแก้ยังไง ?
การรักษาเพื่อแก้ไขฟันเหยินมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและโครงสร้างของกระดูกขากรรไกร โดยมีวิธีการแก้ไขฟันเหยินที่นิยมใช้ ดังนี้
1. การจัดฟัน (Orthodontic Treatment)
การจัดฟันเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการแก้ไขปัญหาฟันเหยิน ที่จะช่วยปรับโครงสร้างฟันให้เรียงตัวได้สมบูรณ์ขึ้น และลดปัญหาการยื่นของฟันหน้าบน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาอาจสงสัยว่าฟันเหยินจัดฟันแบบไหนดีถึงจะเหมาะกับเราที่สุด ซึ่งในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
- การจัดฟันแบบติดแน่น (Metal Braces) : การใช้เครื่องมือจัดฟันที่มีเหล็กดัดบริเวณด้านนอกของผิวฟันด้านหน้า และมียางรัดช่วยในการปรับตำแหน่งฟัน ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะมองเห็นเครื่องมือจัดฟันได้ง่ายและใช้เวลานาน แต่ก็เป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง ช่วยให้ฟันเคลื่อนตัวได้อย่างเหมาะสม
- การจัดฟันแบบใสถอดได้ (Invisalign) : การจัดฟันแบบใสกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถถอดเข้าออกได้ง่าย สะดวกต่อการรับประทานอาหารหรือแปรงฟัน อีกทั้งยังสังเกตเห็นเครื่องมือได้ยาก จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กังวลเรื่องภาพลักษณ์ระหว่างการจัดฟัน
อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาโครงสร้างฟันอย่างละเอียด เพื่อเลือกรูปแบบการจัดฟันที่เหมาะสมกับปัญหาของแต่ละคน
2. การผ่าตัดกระดูกขากรรไกร (Jaw Surgery)
การผ่าตัดขากรรไกรเป็นวิธีที่จำเป็น ในกรณีที่ฟันเหยินมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของกระดูกใบหน้าและกะโหลกศีรษะ การผ่าตัดจะช่วยปรับตำแหน่งกระดูกขากรรไกรให้เหมาะสมกับโครงสร้างฟันและใบหน้า ทำให้ลดปัญหาการยื่นของฟันหน้าบนได้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ต้องได้รับการประเมินโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางร่วมกับทันตแพทย์จัดฟัน
ฟันเหยินเป็นปัญหาที่สามารถส่งผลต่อทั้งภาพลักษณ์และสุขภาพช่องปาก การรักษาที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการจัดฟัน หรือการผ่าตัด จะสามารถช่วยปรับตำแหน่งฟันให้กลับมาเรียงตัวสวยได้ หากคุณกำลังมองหาคลินิกทันตกรรมเพื่อปรึกษาจัดฟัน ขอแนะนำ คลินิกทันตกรรมสไมล์โฟกัส ที่มีบริการจัดฟันและรักษาฟันเหยิน ดำเนินการโดยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมให้คำปรึกษาและประเมินการรักษาอย่างละเอียด เพื่อให้คุณได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
สนใจสามารถนัดเข้ามาปรึกษาปัญหากับทันตแพทย์ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 093-949-9269 และ LINE : @Smile Focus หรือช่องทางติดต่ออื่น ๆ ของคลินิกสไมล์โฟกัส
แหล่งอ้างอิง
What Is An Overbite? And How Can It Be Treated? สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 จาก https://caortho.org/what-is-an-overbite-and-how-can-it-be-treated/